วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กิจกรรมที่ 2


หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์


โครงงานคอมพิวเตอร์
     หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
     คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ






     1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
     2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
     3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
     4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
     5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)







1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้

     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ
         
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
         
     เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
         
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)

     เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น

4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย


5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)

         
     เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กิจกรรมที่ 1

มารู้จัก TCAS 61

     รู้จักระบบ TCAS 61

            ระบบที่ใช้ในการคัดเลือกการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2561 ใช้ชื่อว่า  Thai  University Central Admission System หรือ TCAS 61 เป็นระบบกลางในการบริหารจัดการการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของน้องๆ แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 รอบ แต่ละรอบก็จะมีเงื่อนไขที่ต่างกัน ถ้าสอบติดในรอบไหนแล้วก็จะไม่สามารถสมัครในรอบต่อไปได้ โดยทั้ง 5 รอบประกอบไปด้วย

          รอบที่ 1 รอบใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
          รอบที่ 2 รอบรับแบบโควตา
          รอบที่ 3 รอบรับตรงร่วมกัน
          รอบที่ 4 รอบแอดมิชชั่น
          รอบที่ 5 รอบรับตรงอิสระ




การคัดเลือกทั้ง 5 รอบของ TCAS!

แบ่งเป็น 5 รอบด้วยกัน คือ
·         รอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
o    ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 
§  ครั้งที่ 1 : 1 ตุลาคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2560
§  ประกาศผล : 22 ธันวาคม 2560
§  ครั้งที่ 2 : 22 ธันวาคม 2560 – 28 กุมภาพันธ์ 2561
§  ประกาศผล : 26 มีนาคม 2561
o    สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ, นักเรียนโควตา, นักเรียนเครือข่าย
o    ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
·         รอบที่ 2 : การรับแบบโควตาที่มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน
o    ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ธันวาคม 2560 – มีนาคม 2561
§  ประกาศผล : 8 พฤษภาคม 2561
o    สำหรับ : น้องๆ นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค, นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
o    ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
·         รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน
o    ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 9 – 13 พฤษภาคม 2561
§  ประกาศผล : 8 มิถุนายน 2561
o    สำหรับ : น้องๆ นักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
o    การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่า 4 สาขาวิชา หรือ 4 มหาวิทยาลัยที่สมัครไปนั้นน้องๆ มีโอกาสผ่านการคัดเลือกทั้งหมด.. (แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อในเคลียริ่งเฮาส์ของรอบที่ 3 อีกครั้ง) โดยที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน ส่วนเกณฑ์การคัดเลือกแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด
o    ยื่นสมัครผ่าน : ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลผู้สมัครไปให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้ประมวลคัดเลือก
·         รอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
o    ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 6 – 10 มิถุนายน 2561
§  ประกาศผล : 13 กรฎาคม 2561
o    สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป
o    การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนแอดมิชชั่นในปีที่ผ่านมา) แต่ใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักที่ประกาศล่วงหน้า 3 ปี
o    ยื่นสมัครผ่าน : ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย)
·         รอบที่ 5 : การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
o    ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ภายในเดือนกรกฎาคม 2561
o    สำหรับ : น้องๆ นักเรียนทั่วไป
o    การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง
o    ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง

 การสอบทั่วไป
สำหรับบรรดาการสอบของข้อสอบกลางทั้งหมดจะเลื่อนไปสอบหลังน้องๆ จบชั้น ม.6 ทั้งหมด  โดยจัดสอบในเดือนมีนาคม – เมษายน 2561 ทั้งหมด 6 สัปดาห์ โดยมีกำหนดการดังนี้ :
สัปดาห์ที่
วันสอบ
รายการสอบ
จัดสอบโดย
1
24 – 27 กุมภาพันธ์ 2561
GAT / PAT ปีการศึกษา 2561
สทศ
2
3 – 4 มีนาคม 2561
O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2560
สทศ
4
17 – 18 มีนาคม 2561
9 วิชาสามัญ ปีการศึกษา 2561
สทศ
3, 5, 6, 7
24 กุมภาพันธ์ – 12 เมษายน 2561
กสพท. และ วิชาเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยต่างๆ หรือองค์กรที่จัดสอบ


ทุกรอบมี “เคลียริ่งเฮาส์”

เนื่องจากปัญหาในหลายๆ ปีที่ผ่านมาที่มีปัญหาวิ่งสอบ แล้วกั๊กที่นั่งเรียนทำให้คนอื่นเสียสิทธิ์ไป ในระบบการคัดเลือกใหม่
ดังนั้นในระบบการคัดเลือกใหม่ ทาง ทปอ. จึงขอความร่วมมือให้ทุกมหาวิทยาลัยต้องเข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ในทุกรอบ เพื่อให้น้องๆ กดยืนยันสิทธิ์การศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นๆ หลังสอบรอบนั้นๆ เสร็จ และเมื่อกดยืนยันในรอบนั้นๆ แล้วจะไม่สามารถสมัครสอบใหม่ในรอบอื่นๆ ได้อีกนั่นเอง
รอบที่
ประเภทการรับ
วันที่ต้องยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์
รอบที่ 1
ยื่นด้วยแฟ้มสะสมผลงาน
ครั้งที่ 1 : 15-19 ธันวาคม 2560
ครั้งที่ 2 : 19-22 มีนาคม 2561
รอบที่ 2
รับแบบโควต้า
3-6 พฤษภาคม 2561
รอบที่ 3
การรับตรงร่วมกัน
26-28 พฤษภาคม 2561
รอบที่ 4
รับแบบแอดมิชชั่น
ไม่มีเคลียริ่งเฮาส์
รอบที่ 5
การรับตรงอิสระ
ไม่มีเคลียริ่งเฮาส์





จำนวนรับในระบบ TCAS 61

          รอบที่ 1 รอบใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)    44,258  ที่นั่ง
        รอบที่ 2 รอบรับแบบโควตา                            68,050  ที่นั่ง
          รอบที่ 3 รอบรับตรงร่วมกัน                            44,390  ที่นั่ง
       รอบที่ 4 รอบแอดมิชชั่น                                 34,744  ที่นั่ง
          รอบที่ 5 รอบรับตรงอิสระ                              15,064  ที่นั่ง






    รวมข้อสอบทั่วจักรวาลสำหรับสายวิทย์?
PAT1 :
    ข้อสอบปี 59 https://www.opendurian.com/exercises/pat1_mar_59/
    ข้อสอบปี 57  https://www.opendurian.com/exercises/pat1_mar_57/
PAT2 :

    ข้อสอบปี 52-54 : https://www.dek-keng.com/2017-03-05/2741/
http://www.trueplookpanya.com/examination/doexam/8099




GAT/PATคืออะไร

GAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน คือ
  • ส่วนที่ 1 คือ ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา
  • ส่วนที่ 2 คือ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย
    • Speaking and Conversation
    • Vocabulary
    • Structure and Writing
    • Reading Comprehension
GAT เป็นการสอบที่ดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อมในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน
  • PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ
  • PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
  • PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
  • PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
  • PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
  • PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
  • PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
    • PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
    • PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
    • PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
    • PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
    • PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
    • PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
PAT เป็นการสอบที่จะดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีแววจะเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกไหม
                                 
                                            ที่มา : https://www.dek-d.com/tcas/46717/


    -> ปฏิทินกำหนดการสอบ 9 วิชาสามัญ 61
    ลงทะเบียน/สมัครสอบ 9 วิชาสามัญ 61    24 พ.ย. - 25 ธ.ค. 60
    ชำระเงินค่าสมัครสอบ                          24 พ.ย. - 26 ธ.ค. 60
    สอบ 9 วิชาสามัญ 61                          17 - 18 มี.ค. 61
    ประกาศผลสอบ                                 12 เม.ย. 61
    • -> ปฏิทินกำหนดการสอบ GAT PAT 61
          ลงทะเบียน/สมัครสอบ GAT PAT 61    22 พ.ย. - 25 ธ.ค. 60
          ชำระเงินค่าสมัครสอบ                       22 พ.ย. - 26 ธ.ค. 60
          สอบ GAT PAT 61                           24 - 27 ก.พ. 61
          ประกาศผลสอบ GAT PAT 61             5 เม.ย. 61
รู้มั้ยความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ คืออะไร 
                     ที่มา: https://www.chulatutor.com/blog/pat-3/#.WhDjB4Zl_IU
    เดินทางมาถึงอีกหนึ่งคณะยอดฮิตที่ผู้ชายเรียนแล้วแมนสุดๆ ผู้หญิงเรียนแล้วก็เท่ห์ได้ ไม่แพ้กัน นั่นก็คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีแบ่งแยกย่อยไปอีกหลายสาขาวิชา แต่กว่าจะไปถึง จุดนั้น ต้องผ่านอีกหนึ่งด่านหินก็คือ การสอบ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์” เพื่อเช็คความ พร้อม ความถนัดของน้องๆ ว่ามีมากน้อยแค่ไหนกับสายวิชาชีพวิศวะในอนาคต
 สอบ “ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์”  คืออะไร?
     ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ คือส่วนหนึ่งของการสอบความถนัดทางวิชาชีพ และวิชาการ หรือ PAT3 (PAT :Professional and Academic Aptitude Test) เพื่อเป็นการวัดความ รู้พื้นฐานของน้องๆ ที่ต้องการเรียนต่อในสายวิชาชีพเฉพาะ รวมไปถึงเป็นการวัดศักยภาพว่าพร้อม มากน้อยแค่ไหนที่จะเรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งไม่ได้มีเพียง ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์เท่านั้น แต่ยังมีความถนัดด้านอื่นๆ ให้เลือกสอบเพื่อใช้คะแนนยื่นคัดเลือกเข้าในคณะต่างๆ อีกด้วย เช่น ความถนัดทางวิชาชีพครูความถนัดทางวิทยาศาสตร์ความถนัดด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์,  ความถนัดด้านคณิตศาสตร์ ฯลฯ
 ใครต้องสอบ  “ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์” ?
     น้องๆ ทุกคนที่ต้องการจะเข้าศึกษาต่อคณะวิศกรรมศาสตร์ จำเป็นต้องสอบ  ความถนัด ทางวิศวกรรมศาสตร์”  เพื่อนำคะแนนไปยื่นร่วมกับคะแนนสอบอื่นๆ (หลักเกณฑ์ตามมหาวิทยาลัยนั้นๆ กำหนด อาจมีเปลี่ยนแปลงได้) โดยการสอบความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 part หลักๆ ก็คือ
  1.สอบความรู้พื้นฐาน
     เพื่อวัดระดับความสามารถที่จะเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์สำเร็จ เนื้อหาการสอบส่วนนี้จะเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ฟิสิกส์ เคมี ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ ที่ล้วนเป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต้องเรียน ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ต่อไป
 2.สอบความถนัด
     เพื่อวัดว่าพร้อมกับการเรียนคณะวิศวกรรมในระดับมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จหรือไม่ อาทิ การเขียนแบบและหัวข้อทางวิศวกรรมการคิดแบบวิศวกรการดูรูปทรงเครื่องมือต่างๆ ด้านวิศวะกร ฯลฯ เนื้อหาการสอบเหล่านี้ มักไม่มีสอนในห้องเรียน แต่มีผลอย่างยิ่งต่อการประกอบวิชาชีพวิศวกรในอนาคต

ชี้เป้าวิศวะฯ-แพทย์ฯ เตรียมตัวยังไงก่อนสอบ GAT-PAT ?
ทุกครั้งก่อนลงสนามสอบ ฮอร์โมนในตัวเราต่างพลุ่งพล่านเต็มไปหมด ทำให้สัมผัสได้หลายความรู้สึกทั้งตื่นเต้น กังวล เครียด กดดัน กลัว ฯลฯ โดยเฉพาะคณะยอดฮิต ติดอันดับไฟว์คนอยากเข้าเรียนประจำปีนี้ อาจต้องรู้สึก x2 แต่..หยุดทุกความรู้สึกไว้แค่นั้นก่อน สูดหายใจเข้าลึกลึก แล้วไปเตรียมตัวให้ดีที่สุด เพื่อศึกครั้งใหญ่ซิวคะแนนในสนามสอบให้ปัง ให้เลิศ กันดีกว่าค่ะ!

1. รู้ให้จริงจำให้แม่น GAT เท่าไหร่ PAT เท่าไหร่?
คณะวิศวกรรมศาสตร์       GPAX 20% , O-NET 30% , GAT15% , PAT 2 15% และ PAT 3 20%

คณะทันตแพทยศาสตร์     GPAX 20% , O-NET 30% , GAT20%, PAT 1 10% และ PAT 2 20%

คณะสัตวแพทยศาสตร์      GPAX 20% , O-NET 30% , GAT20% และ PAT 2 30%

จะเก็บชัยชนะทั้งที ทั้งจดทั้งจำให้แม่น 100% ของคณะในฝัน ใช้คะแนนอะไร สัดส่วน เท่าไหร่ จะมากจะน้อยก็สำคัญทุกคะแนน และอย่าลืมนี่เป็นเพียงกระทู้ชี้เป้า เช็คข้อมูลตัวเองด้วย นะจ๊ะ ว่าอยากเป็นแพทยศาสตร์กรุ๊ปไหนแบบที่ 1 GAT + PAT2 หรือ แบบที่ 2 GAT + PAT1 + PAT2 ?

2. สถิติ ต้องรู้
เพราะสถิติ คือแรงผลักชั้นดี ที่จะทำให้เรารู้มาตรฐาน คะแนนต่ำสุด-คะแนนสูงสุด ในปีที่ผ่านๆ มาแม้จะผ่านมาแล้ว แต่อย่าลืมว่า!มีเพื่อนร่วมรุ่นเรามากมาย ที่พร้อมจะทำลายสถิติทุกปี” นั่นหมายถึงอาจส่งผลให้คะแนนต่ำสุดในปีที่ผ่านมาพุ่งพรวดก็เป็นได้เพราะความพยายามที่มากขึ้นของเพื่อนเราหลายๆ คนนั่นเอง

3. เป้าหมาย ต้องชัด!
เมื่อเป้าหมายชัดแล้วว่าอยากเข้าเป็นนิสิต ณ คณะไหน สิ่งที่ต้องชัดเจนให้ได้ไม่แพ้กันคือ คะแนน” ทั้งของ GAT และ PAT ที่ตัวเองต้องการอยากได้เท่าไหร่ กี่คะแนน ระบุ” ออกมาให้ชัดที่สุดเป็นตัวเลขที่อยากได้ **แนะนำว่าตั้งให้สูงเข้าไว้แล้วไปให้ถึงบอกตัวเองไว้เราทำได้เราทำได้**

4. ปิดรอยรั่ว รอบตัวเอง
ไม่ต้องเอาตาไปมองใคร แต่ให้หันกลับมามองตัวเองเป็นหลักเลยค่ะ วิชาไหนถนัดที่สุดอย่าประมาท รีบเติมความรู้ให้แน่นเข้าไว้ วิชาไหนไม่เซลฟ์ หาเพื่อนมาเตือนมาติว หรือหาตัวช่วยดีๆ มาเสริมสอบ GAT-PAT ทันทีอย่าปล่อยแค่หมัดเด็ด มันต้องหมัดฮุกเท่านั้นค่ะ ถึงจะเอาอยู่ทุกคะแนน!!

-เกล็ดความรู้ -

เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี 
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ที่มาข้อมูล มูลนิธิชัยพัฒนา
ค่านิมหลักของคนไทย 12 ประการ

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.


1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

ค่านิยม 12 ประการ - รวมศิลปินจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

หลักการทรงงาน ในหลวงรัชกาลที่ 9

1. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ

ทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบจากข้อมูลเบื้องต้น ทั้งเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามเป้าหมาย

2. ระเบิดจากภายใน

จะทำการใดๆ ต้องเริ่มจากคนที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำ ไม่ใช่การสั่งให้ทำ คนไม่เข้าใจก็อาจจะไม่ทำก็เป็นได้ ในการทำงานนั้นอาจจะต้องคุยหรือประชุมกับลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หรือคนในทีมเสียก่อน เพื่อให้ทราบถึงเป้าหมายและวิธีการต่อไป

3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก

ควรมองปัญหาภาพรวมก่อนเสมอ แต่เมื่อจะลงมือแก้ปัญหานั้น ควรมองในสิ่งที่คนมักจะมองข้าม แล้วเริ่มแก้ปัญหาจากจุดเล็กๆ เสียก่อน เมื่อสำเร็จแล้วจึงค่อยๆ ขยับขยายแก้ไปเรื่อยๆ ทีละจุด เราสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ โดยมองไปที่เป้าหมายใหญ่ของงานแต่ละชิ้น แล้วเริ่มลงมือทำจากจุดเล็กๆ ก่อน ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ แก้ไปทีละจุด งานแต่ละชิ้นก็จะลุลวงไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้  “ถ้าปวดหัวคิดอะไรไม่ออก ก็ต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน  มันไม่ได้แก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปัญหาที่ทำให้เราปวดหัวให้ได้เสียก่อน เพื่อจะให้อยู่ในสภาพที่ดีได้…”

4. ทำตามลำดับขั้น

เริ่มต้นจากการลงมือทำในสิ่งที่จำเป็นก่อน เมื่อสำเร็จแล้วก็เริ่มลงมือสิ่งที่จำเป็นลำดับต่อไป ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ถ้าทำตามหลักนี้ได้ งานทุกสิ่งก็จะสำเร็จได้โดยง่าย… ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนเสียก่อน ได้แก่ สุขภาพสาธารณสุข จากนั้นจึงเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค เน้นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้ และเกิดประโยชน์สูงสุด “การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน ใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควร สามารถปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป…” พระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517

5. ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์

การพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยใจคอคน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน “การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ ในสังคมวิทยา คือนิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ เข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริงๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง”

6. ทำงานแบบองค์รวม

ใช้วิธีคิดเพื่อการทำงาน โดยวิธีคิดอย่างองค์รวม คือการมองสิ่งต่างๆ ที่เกิดอย่างเป็นระบบครบวงจร ทุกสิ่งทุกอย่างมีมิติเชื่อมต่อกัน มองสิ่งที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง

7. ไม่ติดตำรา

เมื่อเราจะทำการใดนั้น ควรทำงานอย่างยืดหยุ่นกับสภาพและสถานการณ์นั้นๆ ไม่ใช่การยึดติดอยู่กับแค่ในตำราวิชาการ เพราะบางที่ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด บางครั้งเรายึดติดทฤษฎีมากจนเกินไปจนทำอะไรไม่ได้เลย สิ่งที่เราทำบางครั้งต้องโอบอ้อมต่อสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคม และจิตวิทยาด้วย

8. รู้จักประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด

ในการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงใช้หลักในการแก้ปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นมาแก้ไข ปรับปรุง โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากมากนัก ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “…ให้ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกโดยปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติจะได้ประหยัดงบประมาณ…”

9. ทำให้ง่าย

ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุงและแก้ไขงาน การพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและที่สำคัญอย่างยิ่งคือ สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศโดยรวม  “ทำให้ง่าย”

10. การมีส่วนร่วม

ทรงเป็นนักประชาธิปไตย ทรงเปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมแสดงความคิดเห็น “สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวาง หนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น แม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาดนั้น แท้จริงคือ การระดมสติปัญญาละประสบการณ์อันหลากหลายมาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง”

11. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “…ใครต่อใครบอกว่า ขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวม อันนี้ฟังจนเบื่อ อาจรำคาญด้วยซ้ำว่า ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึกในใจว่า ให้ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่าคนที่ให้เป็นเพื่อส่วนรวมนั้น มิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่างเดียว เป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้…”

12. บริการที่จุดเดียว

ทรงมีพระราชดำริมากว่า 20 ปีแล้ว ให้บริหารศูนย์ศึกษาการพัฒนาหลายแห่งทั่วประเทศโดยใช้หลักการ “การบริการรวมที่จุดเดียว : One Stop Service” โดยทรงเน้นเรื่องรู้รักสามัคคีและการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันด้วยการปรับลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับทรัพยากรธรรมชาติ ทรงมองปัญหาธรรมชาติอย่างละเอียด โดยหากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติจะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือเราด้วย

14. ใช้อธรรมปราบอธรรม

ทรงนำความจริงในเรื่องธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบที่ปกติ เช่น การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยให้ผักตบชวา ซึ่งมีตามธรรมชาติให้ดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ

15. ปลูกป่าในใจคน

การจะทำการใดสำเร็จต้องปลูกจิตสำนึกของคนเสียก่อน ต้องให้เห็นคุณค่า เห็นประโยชน์กับสิ่งที่จะทำ…. “เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและจะรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง”

16. ขาดทุนคือกำไร

หลักการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่มีต่อพสกนิกรไทย “การให้” และ “การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร

17. การพึ่งพาตนเอง

การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เพื่อการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้มีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป แล้วขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมและสามารถ พึ่งตนเองได้ในที่สุด

18. พออยู่พอกิน

ให้ประชาชนสามารถอยู่อย่าง “พออยู่พอกิน” ให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป

19. เศรษฐกิจพอเพียง

เป็นปรัชญาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต ให้ดำเนินไปบน “ทางสายกลาง” เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  ซึ่งปรัชญานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งระดับบุคคล องค์กร และชุมชน

20. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน

ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ

21. ทำงานอย่างมีความสุข

ทำงานต้องมีความสุขด้วย ถ้าเราทำอย่างไม่มีความสุขเราจะแพ้ แต่ถ้าเรามีความสุขเราจะชนะ สนุกกับการทำงานเพียงเท่านั้น ถือว่าเราชนะแล้ว หรือจะทำงานโดยคำนึงถึงความสุขที่เกิดจากการได้ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นก็สามารถทำได้ “…ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น…”

22. ความเพียร

การเริ่มต้นทำงานหรือทำสิ่งใดนั้นอาจจะไม่ได้มีความพร้อม ต้องอาศัยความอดทนและความมุ่งมั่น ดังเช่นพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” กษัตริย์ผู้เพียรพยายามแม้จะไม่เห็นฝั่งก็จะว่ายน้ำต่อไป เพราะถ้าไม่เพียรว่ายก็จะตกเป็นอาหารปู ปลาและไม่ได้พบกับเทวดาที่ช่วยเหลือมิให้จมน้ำ

23. รู้ รัก สามัคคี

  • รู้ คือ รู้ปัญหาและรู้วิธีแก้ปัญหานั้น
  • รัก คือ เมื่อเรารู้ถึงปัญหาและวิธีแก้แล้ว เราต้องมีความรัก ที่จะลงมือทำ ลงมือแก้ไขปัญหานั้น
  • สามัคคี คือ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่สามารถลงมือทำคนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกัน
ข้อมูลจาก : https://th.jobsdb.comhttp://www.crma.ac.thhttp://umongcity.go.th
ที่มา https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/39678.html






ใบงานที่4

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ โครงงานคอม from Paphatsara Rueancome